ข้อกำหนดแบบป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน มาตรฐาน มยผ. และ วสท.

 

ข้อกำหนดรูปแบบป้ายทางออกทางหนีภัยมาตรฐาน มยผ. และวสท.

    กรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.) ตามมาตรฐานการออกแบบเส้นทางหนีไฟมยผ. 8301 เป็นหนึ่งหน่วยงานที่ได้กำหนดมาตรฐานการออกแบบทางหนีภัยเพื่อความปลอดภัยสำหรับอาคารต่างๆไว้อย่างครบถ้วนรวมถึงกำหนดขนาดป้ายทางออกทางหนีภัยและขนาดรูปแบบป้ายตัวอักษร (Font) โตไม่น้องกว่า 15 ซม.

รูปแบบและขนาดป้ายตาม มยผ. 8301

 

     วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในด้านมาตรฐานงานวิศวกรรมต่างๆในบ้านเมืองเราซึ่งอ้างอิงจากหน่วยงานมาตรฐานเช่นสมอ (มอก.) และ ISO ตาม EITStandard 2004-54 ความโตของรูปแบบป้ายและตัวอักษร (Font) ต้องไม่น้อยกว่า 10 ซม.


 

รูปแบบและขนาดป้ายตามวสท.2004-54

 

ข้อสรุปรูปแบบการติดตั้งและการตรวจสอบป้ายทางหนีภัยตาม (วสท. 2004-54)

1.  ติดตั้งตามทางเดิน/ทางหนีไฟเพื่อให้อพยพไปยังประตูทางออกที่ใกล้ที่สุด

2.  การติดตั้งเหนือประตูหรือตามทางเดินความสูง 2-2.7 ม.

3.  ป้ายสัญลักษณ์ขนาด 10 ซม. ต้องติดตั้งภายในระยะ 24 ม., หรือขนาด 15 ซม. ติดตั้งภายในระยะสายตา 36 ม.และขนาด 20 ซม. ติดตั้งระยะห่างได้ 48 ม.

4.  แหล่งจ่ายไฟต้องมาจากแหล่งไฟฟ้าปกติแยกวงจรจากระบบอื่นเพื่อสามารถทดสอบได้สะดวกและมีแบตเตอรี่สำรองไฟ

5.  เมื่อไฟฟ้าดับต้องให้ความสว่างติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 90 นาทีสำหรับอาคารขนาดใหญ่อาคารสูงตามที่กฎหมายกำหนดต้องไม่น้อยกว่า 120 นาที

6.  การตรวจสอบป้ายจะต้องมีการจดบันทึกระบุผลการตรวจผู้ตรวจและวันที่ไว้สามารถดูและตรวจสอบได้

7.  การตรวจสอบการทำงานต้องทำการตรวจสอบทุกระยะ 3 เดือนทดสอบให้สำรองไฟนาน 30 นาทีและทุก 1 ปีต้องสำรองไฟนาน 60 นาทีและประจุแบตเตอรี่ตามปกติจนเต็มและพร้อมใช้งาน 

 

    รูปแบบป้ายจะต้องมีขนาดรูปแบบป้ายและระยะการติดตั้งจะต้องมองเห็นได้ชัดเจนตามข้อกำหนดของแต่ละหน่วยงานที่เราเลือกใช้ ส่วนผู้ตรวจสอบอาคารอาจเลือกใช้ข้อกำหนดจากหน่วยงานใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งข้อกำหนดและมาตรฐานความปลอดภัยของทั้งสองหน่วยงานก็จะมีรายละเอียดระบุรูปแบบป้าย-ขนาด-ระยะการติดตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นผู้ดูแลอาคารควรจะต้องเข้าใจรายละเอียดเหล่านี้เช่นกันเพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ด้านความปลอดภัยและข้อแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ

    ป้ายที่ใช้ต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน วสท. และ ISO ซึ่งแบบป้ายจะมีความโตตัวอักษรน้อยสุด 10 ซม. และติดตั้งในระยะ 24 เมตรซึ่งเป็นขนาดที่พอเหมาะกับพื้นที่ เช่น บนประตูในห้องและทางเดินต่างๆ ไม่ทำให้บดบังสายตา ในส่วนป้ายที่มีตัวอักษรขนาดใหญ่ 15 และ 20 ซม. ก็มีใช้งานแพร่หลายเช่นกัน มักติดตั้งใช้งานตาม อาคาร โรงงาน ห้องโถงพื้นที่กว้างและใหญ่มากขึ้น จึงมองว่าข้อกำหนดรูปแบบป้ายขนาดใดก็ได้ ขอให้มีขนาดความโตและติดตั้งตามระยะกำหนดมองเห็นได้ชัดเจนมีการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสมก็สามารถใช้งานได้และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฏหมายเช่นกัน

    

 

 

Visitors: 387,410